ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็ยังต้องมีความต่างหลากหลายของแผนกและประเภทงานเป็นส่วนประกอบเพื่อ เกื้อหนุนกัน ในบริษัทขนาดเล็ก แม้จะต่างที่จำนวนคน แต่โดยพื้นฐานมุมมองนั้นไม่ต่าง เราต้องการคนบุคลิกภาพหลากหลาย ต่างความสามารถ แต่อุดมการณ์เหมือนกัน และเลือกเฟ้นใช้ชีวิตคล้ายๆ กันเพื่อเกื้อ หนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง
คนทุกบุคลิกมีประโยชน์ต่อองค์กรไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพราะเขาเหล่านั้นจะมีความ สามารถและแรงผลักในการทำงานไม่เหมือนกันเลย เราลองจำแนกความแตกต่าง ของคนเหล่านี้ออกมาเป็นกลุ่มๆ มาดูกันว่าคนกลุ่มไหนบ้างที่ยังไม่มี และกลุ่มไหนบ้างที่เราน่าจะมีไว้ช่วยให้ทีมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1. คนที่ตรงข้ามกับเรา
แน่นอนว่าการทำงานกับคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันหรือความคิดเหมือนๆ กันย่อมทำงานด้วยได้ง่ายกว่า แต่ว่าถ้าหากไม่มีคนตั้งคำถามอะไรขึ้นมาบ้าง บางเวลากว่าจะเกิด แนวคิดใหม่ๆ ที่ต่างเพื่อช่วยพัฒนาองค์กรให้ไปข้างหน้าได้แต่ละทีก็ดูเหมือนจะต้องรอ คอยนานเหลือเกิน เราต้องการคนที่ช่วยเราตั้งคำถาม ไม่ใช่ปฏิปักษ์ ซึ่งคน สองกลุ่มนี้ต่างกันในแง่การปฏิบัติพอสมควร ต้องสังเกตให้ดี
2.นักโปรโมท
คนประเภทนี้คือคนที่ควรมีหัวทางด้านการตลาดมากๆ และรู้จักสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน รู้ว่าควรจะโปรโมทสินค้าและหน่วยงานเช่นใดเพื่อให้คนรู้จักองค์กรของ เรา พร้อมทั้งทำให้คนเชื่อว่าองค์กรเรานั้นเป็นองค์การที่ดี และเพื่อให้ของซื้อของขายและบริการนั้นขายได้
3. คนสารพัดประโยชน์
คน ประเภทนี้สำคัญมากในองค์กรขนาดเล็ก เพราะว่าเราต้องการใครสักคนที่สามารถปลีกมากจากงานตัวเองเพื่อมาช่วยทำงานใน ด้านอื่นๆ ที่สำคัญกว่าในบริษัทได้เมื่อ ถึงเวลาที่จำเป็น ซึ่งคนประเภทนี้ต้องมีลักษณะเฉพาะตัวคือ รับได้ต่อความวุ่นวายของกระแสงานที่เข้ามาและต้องมีความกระตือรือร้นที่จะทำ งานอื่นๆ ในองค์กรที่ได้ รับมอบหมายนอกเหนือจากงานตนเอง
4. นักตัดสินใจ
ใน ฐานะที่เราเป็นผู้บริหารไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องหาเวลาว่างมาคอยตัดสินใจ กับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา โดยอย่างยิ่งกับปัญหาเล็กๆ ที่น่ายกให้จะเป็นหน้าที่ของคน กลุ่มนี้ได้ โดยคนประเภทนี้ต้องมีทักษะการพิเคราะห์ถึงปัญหาและมีความกล้าที่จะตัดสินได้ อย่างเด็ดขาด
5.นักจัดการ
ลอง คิดดูว่าบริษัทเราจะยุ่งเหยิงสักแค่ไหนถ้าหากไม่มีคนคอยควบคุมจัดการคนและ จัดการงานต่างๆ คนประเภทนี้จะมีหน้าที่คอยควบคุมว่าแต่ละคนควรทำงานที่ได้รับ มอบหมายสำเร็จ ตามเป้าหรือไม่ และจัดการว่างานหรือโปรเจ็คที่ดำเนินนั้นอยู่เป็นไปตามแผนหรือไม่
6. ผู้ที่มีความรอบคอบ
ทุก องค์กรปรารถนาคนที่มีความรอบคอบเพราะคนประเภทนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของ องค์การลงได้ แต่ความรอบคอบนั้นต้องไม่ได้มีมากเกินไปจนถึงขั้นหวาดระแวงจน ไม่กล้าที่จะลง มือทำอะไรเลย หรืออีกประเภทที่เป็นคนขี้เกียจแต่ใช้คำว่า “รอบคอบ” นั้นมาอ้างเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำงาน อย่างนั้นก็ไม่ดี
7. นักเจรจา
นี่ คือผู้ที่มีหน้าที่สำหรับให้ความช่วยเหลือและคอยดูแลลูกค้า คนประเภทนี้ต้องมีลักษณะเข้าสังคมเก่ง รู้จักวิธีการพูดโน้มน้าวคน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และที่สำคัญต้องเป็น คนที่มีความสามารถในการตั้งรับหรือเจรจากับผู้ซื้อที่ไม่ พึงพอใจกับของซื้อของขายและบริการของเราอีกด้วย
8. นักบริการ
หน้าที่ ของคนลักษณะนี้เทียบได้ง่ายๆ กับตำแหน่งเลขา ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถในการจัดการงานแทบทุกอย่างของผู้บริหารได้ โดยต้องมีความความพร้อม ที่จะได้รับมอบหมายงานที่ผู้บริหารสั่งมาทำแทนเมื่อ หัวหน้าไม่ว่างได้เสมอ
ตัวอย่างทั้งหมดที่พูดถึงนี้ แต่ละตำแหน่งล้วนมีคุณค่าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่่งบางทีแค่การรวมคนเหล่านี้ให้ครบอาจยังไม่พอ สิ่งที่สำคัญถัดมาคือการวิเคราะห์ลักษณะ นิสัยการทำงานของแต่ละคนเป็นอย่างดี และมอบหมายงานให้เหมาะสมกับคนแต่ประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในแต่ละองค์กร